Two-factor authentication คืออะไร?

การตรวจสอบสิทธิ์สองปัจจัย (Two-factor authentication, 2FA) เป็นกระบวนการยืนยันตัวตน ที่ต้องอาศัยสองวิธีที่แตกต่างกันในการยืนยันตัวตนของผู้ใช้ ก่อนที่จะให้สิทธิ์การเข้าถึงบัญชีหรือระบบ ซึ่งถือว่าเป็นการรักษาความปลอดภัยอีกชั้นหนึ่ง ซึ่งจะช่วยลดความเสี่ยงในการเข้าถึงโดยไม่ได้รับอนุญาตได้อย่างมาก และในปัจจุบันกําลังเป็นที่นิยมมากขึ้นในโลกดิจิทัล ในบทความนี้คุณจะได้เรียนรู้ทุกสิ่งที่คุณจําเป็นต้องรู้เกี่ยวกับ 2FA รวมถึงประโยชน์ประเภทและวิธีการตั้งค่าและใช้งาน

คำจำกัดความของการตรวจสอบสิทธิ์สองปัจจัย

การตรวจสอบสิทธิ์สองปัจจัย (2FA) เป็นการรับรองความถูกต้องประเภทหนึ่งที่ใช้สองปัจจัยที่แตกต่างกันเพื่อยืนยันตัวตนของผู้ใช้ ซึ่งปัจจัยเหล่านี้มักแบ่งออกเป็นสามประเภท ได้แก่

  • สิ่งที่คุณรู้ (Knowledge) เช่น รหัสผ่าน
  • สิ่งที่คุณมี (Ownership) เช่น อุปกรณ์เคลื่อนที่หรือคีย์ความปลอดภัย
  • สิ่งที่คุณเป็น (Inherence) เช่น ข้อมูลไบโอเมตริกต่างๆ เช่น ลายนิ้วมือหรือการจดจำใบหน้า

2FA ช่วยให้มั่นใจได้ว่าบุคคลที่ได้รับอนุญาตเท่านั้นที่สามารถเข้าถึงบัญชีหรือระบบได้ แม้ว่าจะมีคนรู้รหัสผ่านของคุณ แต่พวกเขาจะไม่สามารถเข้าสู่ระบบได้หากไม่มีปัจจัยที่สอง สิ่งนี้ทำให้แฮ็กเกอร์และอาชญากรไซเบอร์เข้าถึงข้อมูลที่ละเอียดอ่อนได้ยากขึ้น

เมื่อมีการเปิดการใช้งาน 2FA ในการเข้าใช้งาน ผู้ใช้ต้องระบุปัจจัยหลักก่อน เช่น รหัสผ่าน (บางอย่างที่พวกเขารู้) เมื่อขั้นตอนนี้เสร็จสิ้น พวกเขาจะได้รับแจ้งให้ระบุปัจจัยรอง เช่น รหัสที่สร้างโดยแอป (บางอย่างที่มี) หรือลายนิ้วมือ (บางอย่างที่เป็น) เมื่อได้รับการยืนยันทั้งสองปัจจัยแล้ว ผู้ใช้จึงจะสามารถเข้าใช้งานได้


วิธีการตรวจสอบสิทธิ์สองปัจจัยที่พบได้บ่อย

ในปัจจุบัน การตรวจสอบสิทธิ์สองปัจจัยมีความนิยมใช้มากขึ้น ซึ่งการตรวจสอบนั้น ปัจจุบันมีวิธีที่นิยมใช้อยู่ 3 แบบได้แก่

  1. การยืนยันทาง SMS
    ระบบจะส่งรหัสแบบใช้ครั้งเดียวไปยังโทรศัพท์ของคุณทาง SMS ที่คุณป้อนเพื่อตรวจสอบสิทธิ์
  2. การยืนยันทางแอพมือถือ
    คุณติดตั้งแอป เช่น Google Authenticator และใช้แอปนั้นเพื่อสร้างรหัส
  3. การรับรองความถูกต้องทาง อุปกรณ์โทเค็น
    คือ อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์สร้างรหัสแบบใช้ครั้งเดียวที่คุณป้อนเพื่อตรวจสอบ

REDCap กับ การตรวจสอบสิทธิ์สองปัจจัย

ในโปรแกรม REDCap ได้มีการแนะนำให้มีการใช้การตรวจสอบสิทธิ์สองปัจจัยเพื่อเพิ่มความปลอดภัย ซึ่งในโปรแกรม จะมีการรองรับอยู่ 2 วิธีการ ได้แก่ ผ่านทางโปรแกรม Authenticator และ Email โดยที่จะมีการตั้งค่า ดังนี้

วิธีที่ 1 : การตรวจสอบสิทธิ์ด้วยการใช้อีเมล

  1. ไปที่หน้าเว็ป เพื่อล็อกอิน เข้าสู่โปรแกรม REDCap จากนั้นกรอก ชื่อผู้ใช้และรหัสผ่านให้ถูกต้อง แล้วกดล็อกอิน
  1. หลังจากกดล็อกอิน จะมีหน้าต่าง ขึ้นมาให้เลือกวิธีการยืนยันตัวตน ให้เลือก ยืนยันตัวตนด้วยอีเมล
  1. รอสักครู่จะมีอีเมลแจ้งเตือนไปยังที่อยู่อีเมลที่ลงทะเบียนไว้ ในอีเมล์จะระบุ เลขรหัสยืนยันตัวตน 6 หลัก
  1. นำเลขรหัสยืนยันตัวตน 6 หลักนั้นมากรอกในหน้าต่าง และกด Submit ก็จะถือเป็นการตรวจสอบสิทธิ์ และยืนยันตัวตนด้วยอีเมลอย่างเสร็จสมบูรณ์

วิธีที่ 2 : การตรวจสอบสิทธิ์ด้วยการใช้แอพ Authenticator

เป็นวิธีที่มีความสะดวกมากกว่าวิธีแรก แต่มีความจำเป็นต้องมีการตั้งค่ากันก่อนเล็กน้อย ซึ่งวิธีการตั้งค่า การตรวจสอบสิทธิ์ด้วย แอพพลิเคชั่น มีความจำเป็นจะต้องล็อกอินเข้าสู่ระบบให้ได้ก่อน ดังนั้นในครั้งแรก จึงมีความจำเป็นต้องอาศัย การยืนยันตัวตน ด้วยอีเมลตามวิธีที่ 1 ข้างต้น และเมื่อสามารถเข้า REDCap ได้แล้ว ให้ทำตามขั้นตอนนี้เลย

  1. ดาวน์โหลดแอพ Google authenticator หรือ Microsoft authenticator จาก App store หรือ Play store ให้เรียบร้อย
  1. กลับมาที่หน้าหลักของ REDCap สังเกตที่ มุมบนด้านขวา จะมีคำว่า Profile อยู่ คลิกเลือก แล้วจะมีหน้าต่างขึ้นมาใหม่
  1. เลื่อนลงไปข้างล่างจะพบ ปุ่มที่เขียนว่า Set up Google Authenticator or Microsoft Authenticator for two-step login คลิกเลือกแล้วจะมีหน้าต่างขึ้นมาใหม่
  1. ในหน้าต่างนี้ จะมี QR code เพื่อใช้ยืนยันตัวตน ให้เปิดแอพ Authentication ที่ใช้ กดปุ่มเพิ่ม แล้วสแกน QR code ที่อยู่ในหน้าต่างบนเว็บ กดตกลง เป็นอันเสร็จเรียบร้อยในการตั้งค่า

    ปล. หากไม่สามารถสแกนได้ สามารถเลือกเพิ่มข้อมูลได้จากข้อมูล Account และ Key/Secret ในกรอบใต้ QR code ได้เลย
  1. ในการเข้าใช้งานเว็บ หลังจากที่กรอกชื่อผู้ใช้และรหัสผ่านเสร็จแล้ว เมื่อมีการสอบถาม การตรวจสอบสิทธิ์ ปัจจัยที่สอง สามารถเปิด แอพพลิเคชั่น Authenticator ในมือถือเพื่อกรอกเลขรหัส 6 หลัก ดังแสดงใน แอพพลิเคชั่น ได้เลย

เป็นอย่างไรกันบ้าง สามารถทำตามกันได้ใช่ไหมครับ การยืนยันตัวตนด้วยโปรแกรมต่างๆ เหล่านี้ มีความปลอดภัยสูง ดังนั้น แนะนำให้เปิดการใช้งานเหล่านี้ เพื่อความปลอดภัยของข้อมูลผู้เข้าร่วมการศึกษากันนะครับ

About Author

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *